กระบวนการทำงานของสแกนเนอร์ มีดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
, Posted by Jo at 10:40
กระบวนการทำงานของสแกนเนอร์ มีดังนี้
1. วางเอกสารหรือรูปภาพบนแผ่นกระจก (Glass plate) ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรับกระดาษขนาดใหญ่กว่า A4 เพียงเล็กน้อย
2. ปิดฝาครอบเครื่องลง ส่วนใหญ่แล้วด้านในฝาครอบจะเป็นแผ่นสีขาวบาง ฝาปิดนี้จะให้รูปแบบของพื้นหลังที่ซอฟต์แวร์ของเครื่องสแกนสามารถใช้เป็นจุดอ้างอิง สำหรับกำหนดขนาดของเอกสารที่เริ่มต้นสแกน เครื่องสแกนแบบแท่นราบส่วนมากแล้วจะสามารถถอดฝาครอบออกได้ เพื่อให้สามารถสแกนหนังสือที่มีความหนามากๆ ได้ โดยไม่ต้องตัด หรือฉีกหน้าที่จะสแกนออก เครื่องสแกนเนอร์สำหรับสแกนแผ่นฟิล์มใส (Transparency scanner) มีแหล่งกำเนิดแสงที่ฝาด้วย เพื่อทำการสแกนภาพแบบทรานสมิตซีฟ (Transmissive) แทนที่จะเป็นการสแกนภาพแบบสะท้อนแสง
3. จากนั้นกลไกทั้งหมดที่ประกอบด้วย กระจก เลนส์ ฟิลเตอร์และ CCD array ซึ่งเป็นชุดของหัวสแกน ซึ่งจะเคลื่อนที่ผ่านเอกสารช้าๆ โดยสายพานที่ติดอยู่กับสเต็ปเปอร์มอเตอร์ จะเป็นตัวดึงหัวสแกนที่ติดอยู่กับแท่งเสถียร (Stabilizer bar) เพื่อที่จะให้แน่ใจว่า หัวสแกนนั้น จะไม่โยกเยกหรือหันเหออกตลอดระยะเวลาที่เคลื่อนผ่านเอกสาร ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อสแกนผ่านเอกสารหนึ่งครั้ง
4. ในการสแกนภาพ หัวสแกน ซึ่งมีหลอดไฟจะส่องไปยังเอกสารต้นฉบับ หลอดไฟในเครื่องสแกนรุ่นใหม่ๆ จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด Cold-Cathode (CCFL) หรือหลอดซีนอน ในขณะที่เครื่องสแกนรุ่นเก่ายังใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดมาตรฐาน ภาพบนเอกสารจะสะท้อนจากมุมหนึ่งของกระจกไปยังมุมอื่น ในเครื่องสแกนบางรุ่น อาจจะมีกระจกสะท้อนเพียง 2 แผ่นเท่านั้น ในขณะที่บางรุ่นใช้กระจกถึง 3 แผ่น แต่ละอันจะบางโค้ง เพื่อโฟกัสภาพที่สะท้อนลงไปบนพื้นผิวเล็กๆ
5. กระจกแผ่นสุดท้ายจะสะท้อนภาพลงไปบนเลนส์ ซึ่งเลนส์จะโฟกัสภาพผ่านฟิลเตอร์บน CCD array ฟิลเตอร์และเลนส์จะเป็นตัวจัดการ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานอย่างมากบนเครื่องสแกน แต่บางครั้งเครื่องสแกนอาจจะใช้วิธีการสแกนผ่าน 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่ผ่านจะใช้ฟิลเตอร์ที่แตกต่างกัน (แดง, เขียว, น้ำเงิน) ระหว่างเลนส์กับ CCD array หลังจากผ่านทั้ง 3 ครั้งแล้ว จึงจะถือว่าเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเพิ่มความคมชัดของเอกสารหรือรูปภาพ บางครั้งเครื่องสแกนอาจจะใช้วิธีการสแกนผ่าน 3 ครั้ง ในปัจจุบันเครื่องสแกนส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสแกนผ่านเพียงครั้งเดียว เลนส์จะทำการแยกภาพเดิมออกเป็น 3 เวอร์ชั่นเล็กๆ แต่ละเวอร์ชั่นจะผ่านฟิลเตอร์ (แดง, เขียว, น้ำเงิน) ส่งลงไปยัง CCD array เครื่องสแกนจะรวมข้อมูลจากทั้ง 3 ส่วนของ CCD array ให้เป็นภาพเดียว
6. แสงที่สะท้อนกลับมาที่ตัว CCD ตัว CCD จะเปลี่ยนความเข้มแสงและสี (ข้อมูล) ไปเป็นกระแสไฟฟ้า
7. ต่อจากนั้น สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านสายไฟไปยังตัวแปลงสัญญาณอะนาล็อก (ADC : Analog Digital Converter) เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล
8. ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลจะถูกส่งผ่านสายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์สมัยใหม่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายวิธี เช่น ทางพอร์ตขนาน ทางพอร์ต USB หรือทาง SCSI อินเตอร์เฟซ ความเร็วของพอร์ตจะกำหนดความเร็วที่การสแกนภาพสามารถทำได้
1. วางเอกสารหรือรูปภาพบนแผ่นกระจก (Glass plate) ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรับกระดาษขนาดใหญ่กว่า A4 เพียงเล็กน้อย
2. ปิดฝาครอบเครื่องลง ส่วนใหญ่แล้วด้านในฝาครอบจะเป็นแผ่นสีขาวบาง ฝาปิดนี้จะให้รูปแบบของพื้นหลังที่ซอฟต์แวร์ของเครื่องสแกนสามารถใช้เป็นจุดอ้างอิง สำหรับกำหนดขนาดของเอกสารที่เริ่มต้นสแกน เครื่องสแกนแบบแท่นราบส่วนมากแล้วจะสามารถถอดฝาครอบออกได้ เพื่อให้สามารถสแกนหนังสือที่มีความหนามากๆ ได้ โดยไม่ต้องตัด หรือฉีกหน้าที่จะสแกนออก เครื่องสแกนเนอร์สำหรับสแกนแผ่นฟิล์มใส (Transparency scanner) มีแหล่งกำเนิดแสงที่ฝาด้วย เพื่อทำการสแกนภาพแบบทรานสมิตซีฟ (Transmissive) แทนที่จะเป็นการสแกนภาพแบบสะท้อนแสง
3. จากนั้นกลไกทั้งหมดที่ประกอบด้วย กระจก เลนส์ ฟิลเตอร์และ CCD array ซึ่งเป็นชุดของหัวสแกน ซึ่งจะเคลื่อนที่ผ่านเอกสารช้าๆ โดยสายพานที่ติดอยู่กับสเต็ปเปอร์มอเตอร์ จะเป็นตัวดึงหัวสแกนที่ติดอยู่กับแท่งเสถียร (Stabilizer bar) เพื่อที่จะให้แน่ใจว่า หัวสแกนนั้น จะไม่โยกเยกหรือหันเหออกตลอดระยะเวลาที่เคลื่อนผ่านเอกสาร ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อสแกนผ่านเอกสารหนึ่งครั้ง
4. ในการสแกนภาพ หัวสแกน ซึ่งมีหลอดไฟจะส่องไปยังเอกสารต้นฉบับ หลอดไฟในเครื่องสแกนรุ่นใหม่ๆ จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด Cold-Cathode (CCFL) หรือหลอดซีนอน ในขณะที่เครื่องสแกนรุ่นเก่ายังใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดมาตรฐาน ภาพบนเอกสารจะสะท้อนจากมุมหนึ่งของกระจกไปยังมุมอื่น ในเครื่องสแกนบางรุ่น อาจจะมีกระจกสะท้อนเพียง 2 แผ่นเท่านั้น ในขณะที่บางรุ่นใช้กระจกถึง 3 แผ่น แต่ละอันจะบางโค้ง เพื่อโฟกัสภาพที่สะท้อนลงไปบนพื้นผิวเล็กๆ
5. กระจกแผ่นสุดท้ายจะสะท้อนภาพลงไปบนเลนส์ ซึ่งเลนส์จะโฟกัสภาพผ่านฟิลเตอร์บน CCD array ฟิลเตอร์และเลนส์จะเป็นตัวจัดการ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานอย่างมากบนเครื่องสแกน แต่บางครั้งเครื่องสแกนอาจจะใช้วิธีการสแกนผ่าน 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่ผ่านจะใช้ฟิลเตอร์ที่แตกต่างกัน (แดง, เขียว, น้ำเงิน) ระหว่างเลนส์กับ CCD array หลังจากผ่านทั้ง 3 ครั้งแล้ว จึงจะถือว่าเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเพิ่มความคมชัดของเอกสารหรือรูปภาพ บางครั้งเครื่องสแกนอาจจะใช้วิธีการสแกนผ่าน 3 ครั้ง ในปัจจุบันเครื่องสแกนส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสแกนผ่านเพียงครั้งเดียว เลนส์จะทำการแยกภาพเดิมออกเป็น 3 เวอร์ชั่นเล็กๆ แต่ละเวอร์ชั่นจะผ่านฟิลเตอร์ (แดง, เขียว, น้ำเงิน) ส่งลงไปยัง CCD array เครื่องสแกนจะรวมข้อมูลจากทั้ง 3 ส่วนของ CCD array ให้เป็นภาพเดียว
6. แสงที่สะท้อนกลับมาที่ตัว CCD ตัว CCD จะเปลี่ยนความเข้มแสงและสี (ข้อมูล) ไปเป็นกระแสไฟฟ้า
7. ต่อจากนั้น สัญญาณไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านสายไฟไปยังตัวแปลงสัญญาณอะนาล็อก (ADC : Analog Digital Converter) เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล
8. ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลจะถูกส่งผ่านสายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์สมัยใหม่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายวิธี เช่น ทางพอร์ตขนาน ทางพอร์ต USB หรือทาง SCSI อินเตอร์เฟซ ความเร็วของพอร์ตจะกำหนดความเร็วที่การสแกนภาพสามารถทำได้
Currently have 0 ความคิดเห็น: