การเลือกซื้อ Scanner (สแกนเนอร์) ซื้ออย่างไร เลือกอย่างไร Scanner ให้ตรงใจคุณ
การเลือกซื้อเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ในระดับมืออาชีพ (Performance)
วิธีการเลือกซื้อเครื่อง Scanner สำหรับผู้ใช้ระดับสูง เครื่อง สแกนเนอร์ ที่แนะกับผู้ใช้ในระดับนี้ จะต้องเป็นเครื่อง สแกนเนอร์ ที่มีความละเอียดที่สูง มีบิตสีในการสแกนที่มาก มีความเร็วในการสแกนที่พอเหมาะไม่ช้าจนเกินไป สามารถสแกนได้ทั้งกระดาษธรรมดา และแผ่นฟิล์ม มีขนาดและรูปร่างที่ไม่ใหญ่มากนัก
ในส่วนแรกเลยก็คงจะต้องมาเลือกกันที่ว่าหัวสแกนของเครื่อง สแกนเนอร์ หรือ Scanner ต้องการหัวสแกนแบบใด แบบ CCD Flatbed หรือแบบ CIS Flatbed ซึ่งหัวสแกนทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ แบบCCD Flatbed จะมีความละเอียดในการสแกนรูปภาพ และความเร็วในการสแกนที่สูงกว่าหัวสแกนแบบ CIS Flatbed ส่วนขนาดของเครื่องหัวสแกนแบบ CCD Flatbed จะมีความหนาและใหญ่กว่าเครื่องที่ใช้หัวสแกนแบบ CIS Flatbed ความละเอียดสำหรับเครื่อง Scanner ในระดับมืออาชีพนี้ควรจะมีความละเอียดอยู่ที่ 1200 x 1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป ยิ่งมีความละเอียดที่สูงก็จะทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงขึ้น แต่ในเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) ในปัจจุบันจะสามารถปรับความละเอียดในการสแกนเพิ่มขึ้นได้อีกโดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เข้าช่วย ความละเอียดที่ได้จากโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์จะอยู่ที่ 9600 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป
ต่อมาเป็นจำนวนบิตสีในการสแกนควรจะอยู่ที่ 48 บิตสี จะอยู่ในโหมด สี 48 บิต Input/ 24 บิต Output ส่วนโหมดสีเท่า 16 บิต Input/ 8 บิต Output ส่วนความเร็วในการพรีวิวสแกนควรจะอยู่ที่ 7 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น ส่วนพื้นที่ในการสแกนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 216 x 197 มิลลิเมตร หรือกระดาษขนาด A4 ความสามารถของเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นจะสามารถสแกนรูปภาพหรือข้อความถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มได้ นับว่าเป็นตัวเลือกของผู้ใช้ที่ต้องการคุณสมบัติเพิ่มเติมอย่างอื่นอีก
ส่วนการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อผ่านทาง USB 1.1/2.0 อันนี้แล้วแต่เครื่องของผู้ใช้กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ใช้พอร์ต USB เวอร์ชันใด ถ้าเป็น USB 1.1 ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลน้อยกว่า USB 2.0 แต่ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่าถ้า USB ของผู้ใช้เป็น USB 2.0 แล้วจะไม่สามารถใช้ USB 1.1 ได้ สามารถใช้ได้ครับแต่ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลจะช้าลงเพียงเท่านั้น ส่วนในเรื่องพลังไฟที่ใช้ในเครื่องScanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นจะมี Adapter ในการเชื่อมต่อเพื่อจ่ายพลังงานให้กับเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) แต่ในบางรุ่นจะสามารถใช้กระแสไฟจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่จะทำผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหาปลั๊กไฟเพิ่มเติม แต่ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่หาก Power Supply ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีกำลังไฟไม่เพียงพอแล้วอาจจะทำให้เครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) หรืออุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถทำงานได้ ในส่วนระบบใช้ก็จะเป็น Windows 98/98SE/ME/2000/XP หรือ Mac OS 8.6-9.x ส่วนในด้านเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่แถมมากับเครื่อง Scanner นั้น อันนี้แล้วแต่ผู้ใช้ว่ามีความถนัดหรือใช้งานได้ง่ายหรือไม่
การเลือกซื้อเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ในระดับประสิทธิภาพคุ้มค่า (Value)
การเลือกซื้อ Scanner (สแกนเนอร์) ในแบบมีประสิทธิสมราคา อย่างแรกก็คงเป็นเทคโนโลยีการสแกน มีทั้งแบบ CCD และแบบ CIS แล้วแต่จะเลือกครับ แบบ CCD มีข้อดีตรงที่สามารถสแกนวัตถุได้ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ (วัตถุ 2 มิติ คือ วัตถุที่มีเพียงด้านเดียว ส่วนวัตถุ 3 มิติ คือ วัตถุที่มีทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง) แบบ CIS ก็สามารถในการสแกนได้เหมือนกับ CCD แต่จะด้อยกว่าในด้านประสิทธิภาพของภาพที่ได้จากการสแกน ส่วนตัวเครื่อง CCD จะมีขนาดและน้ำหมักที่มากกว่า CIS ลำดับต่อมาคือ ความละเอียดในการสแกนควรจะเลือกเครื่องสแกนที่มีความละเอียดในการสแกน 1200 x 1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไปครับ แต่เครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นยังสามารถเพิ่มความละเอียดได้ด้วยโปรแกรม (Software)
ตัวอย่างเช่น Up to 4800 Optimized หมายความว่า สามารถปรับความละเอียดโดยใช้โปรแกรมที่มาพร้อมกับเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ทำให้ได้ความละเอียดสูงสุดที่ 4800 จุดต่อตารางนิ้ว ส่วนความละเอียดในการสแกนส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 48 บิตสีอยู่แล้ว จะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการสแกนความคมชัดที่สูงขึ้นครับ ต่อไปเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) มีการเชื่อมต่อหลายแบบครับ ได้แก่ Parallel เป็นการเชื่อมต่อแบบธรรมดาที่สุด, USB 1.1/2.0 ทำให้การส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่า Parallel สะดวกในการติดตั้ง, SCSI คล้ายๆ กับ Parallel แต่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงกว่า Parallel และสุดท้าย FireWire มีเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) น้อยรุ่นที่จะใช้พอร์ตนี้ในการเชื่อมต่อ เมื่อนำมาติดตั้งไว้ในเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) จะทำให้มีราคาที่สูงขึ้น ผู้ใช้ต้องเลือกด้วยว่าจะใช้พอร์ตอะไรในการเชื่อมต่อ ในปัจจุบัน USB 1.1/2.0 เป็นพอร์ตที่ใช้งานง่ายที่สุดแล้วครับ ราคาก็ไม่แพงมากนัก
Scanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นยังมีความสามารถที่เครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) รุ่นอื่นไม่มีอีก คือ การสแกนแผ่นฟิล์ม หรือแผ่นสไลด์ได้ครับ นับเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาแล้วได้ประโยชน์อีกไม่น้อยครับ
เมื่อผู้ใช้กำหนดสเปกของเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) แล้วว่าต้องการแบบไหน ความละเอียดในการสแกนเท่าไหร่ เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ตอะไร คราวนี้ก็ต้องมาดูกันที่เทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ว่าผู้ใช้ใช้งานง่ายหรือไม่ การที่เราสามารถใช้งานเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ได้ง่าย ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการอ่านคู่มือมากนัก น้ำหนักกับขนาดของเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์)ส่วนใหญ่จะไม่ต่างกันมากกนัก ก็แล้วแต่ว่าผู้ใช้ชอบเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) หน้าตาแบบไหน สีอะไรครับ
การเลือกซื้อเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ในระดับประหยัด (Budget)
สำหรับผู้ใช้ที่มีงบประมาณในการจัดซื้อน้อย Scanner (สแกนเนอร์) ระดับBudget ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดูจะเหมาะสมมากที่สุดและในตลาดบ้านเราตอนนี้ก็มีให้เลือกอยู่หลายรุ่นเช่นเดียวกัน ในด้านของประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ใช้ได้เลยครับ แต่ต้องพิจารณาจากใช้งานหลักของผู้ใช้เองด้วยนะครับ อย่างที่เคยได้กล่าวไปถึงวิธีการเลือกซื้อในฉบับก่อนแล้ว ครั้งนี้เราจะเข้ามาลึกอีกสักหน่อย สำหรับการเลือกซื้อ Scanner ระดับล่าง ที่ทางผู้ใช้มีงบประมาณน้อยจะเลือกซื้ออย่างไรถึงจะใช้ได้ การเลือกซื้อ สแกนเนอร์ ระดับนี้เราต้องมาพิจารณาถึงองค์ประกอบหลักว่าเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ที่ทางผู้ใช้สนใจอยู่นั้นมีรุ่นใดบ้าง ให้เอาราคาที่ใกล้เคียงกับงบประมาณที่มีอยู่หลังจากนั้นให้นำมาเปรียบเทียบกันว่ามีข้อแตกต่างกันในส่วนใดบ้าง ด้านเทคโนโลยีของสแกนเป็นรู้ดีอยู่ว่ามีแบบ CIS และแบบที่เป็นCCD ถ้าคุณต้องการเน้นประสิทธิในการสแกนวัตถุสามมิติ แนะนำให้ใช้เทคโนโลยีแบบ CCD จะดีกว่าเพราะการสแกนวัตถุที่เป็นสามมิตินั้นเทคโนโลยี CCD จะเหนือกว่า CIS อยู่เล็กน้อย เนื่องจากระบบการทำงานจะต่างกัน หากคุณต้องการเน้นที่ความรวดเร็ว ประหยัดพื้นที่สามารถจัดเก็บได้สะดวกเมื่อไม่ได้ใช้งานก็ต้องเป็นแบบCISครับ เพราะที่รู้ๆกันว่าข้อเสียของเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) แบบที่ใช้เทคโนโลยีแบบ CCD ตัวเครื่องค่อนข้างหนาและมีน้ำหนักมากกว่า เทคโนโลยีแบบ CIS พอประมาณครับ จำนวนบิตสีควรเลือกที่เป็นมาตรฐานคือ 48 บิตสีจะดีกว่า
การเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกที่คุณคิดว่าสะดวกมากที่สุด อย่างเช่น ถ้าคุณใช้เครื่องพรินเตอร์ที่ต่อกับสาย Parallel อยู่ก็ควรเลือกซื้อ Scanner (สแกนเนอร์) ที่เชื่อมต่อแบบ USB หรือไม่ก็ FireWire แทนจะได้ทำให้การทำงานสอดคล้องกัน ทำงานร่วมกันได้ไม่ต้องมีปัญหาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาให้เสียเวลา หากเครื่องพรินเตอร์ใช้เป็นUSB และถ้าคุณมีช่องUSB เหลือก็ตามสะดวกได้เลยครับ เพราะการเชื่อมต่อแบบ USB นั้นจะรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ Paralle อยู่พอสมควร หรือถ้าหากว่าอยากลองการเชื่อมต่อแบบใหม่อย่าง FireWire ก็ไม่ว่ากันครับ แต่ต้องดูด้วยว่าเครื่องScanner (สแกนเนอร์) รุ่นที่คุณต้องการสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้หรือไม่ เพราะที่เห็นกันในตลาดบ้านเราตอนนี้แบบราคาระดับล่างมีอยู่ไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่มีการเชื่อมต่อแบบ FireWire ด้วย แถมไม่ทราบว่าจะมีการ์ดPCI ที่ไว้ต่อกับตัวเชื่อมต่อ FireWire มาให้ด้วยหรือเปล่าในบ้างรุ่น จากการที่ได้ไปสำรวจมาในบางร้านมีแถมมาให้ บางร้านก็ไม่มีต้องเพิ่มเงินซื้อถึงจะได้ ทั้งๆ ที่น่าแถมมาให้พร้อมเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) อยู่แล้ว ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมลองคิดดูเล่นๆก็แล้วครับว่าทำไม ส่วนของค่าความละเอียดในการสแกนคงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้เครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ที่มีค่าความละเอียดสูงๆ แต่ก็ถือว่าเป็นค่าความละเอียดที่ใช้งานกันใน ระดับปกติเป็นมาตรฐานอยู่แล้วครับ ไม่ต้องเสียใจไปว่าเรามีงบประมาณน้อยไม่สามารถซื้อเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) ที่มีค่าความละเอียดสูงๆได้ เพียงแค่คุณก็ใช้ทำงานได้ในระดับหนึ่งแล้ว
Currently have 0 ความคิดเห็น: